Blogger Tricks

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

โรคไข้หัดแมว




     โรคนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโรคลำไส้อักเสบติดเชื้อไวรัสในแมว เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปและเกิดในแมวทุกช่วงอายุ แมวทุกตัวควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ไว้ เนื่องจากไม่สามารถระวังให้แมวห้ามให้แมวไม่สัมผัสกับโรคนี้ได้ โดยเชื้อนี้จะมีผลกับอวัยวะต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดอาการไข้ เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย แสดงสภาวะขาดน้ำ อ่อนเพลีย ตัวสั่นและเดินไม่ตรง แมวอาจตายได้ภายใน 1 สัปดาห์เลยทีเดียว ลูกแมวที่เป็นโรคนี้ 3 ใน 4 ตัวก็จะตาย แมวที่มีอายุเมื่อเป็นโรคนี้จะมีอัตราการตาย 50% ดังนั้นควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ในลูกแมวอายุ 6-12สัปดาห์ และฉีดกระตุ้นซ้ำทุกปี ลูกแมวที่อายุน้อยกว่า 12 สัปดาห์ ควรฉีดวัคซีนนี้ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 2-3 สัปดาห์เพื่อป้องกัน


การควบคุมดูแลแมวที่มีอายุมากเกี่ยวกับอาการของโรคต่างๆ 

     ถ้าแมวที่มีอายุมีท่าทางว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างเกี่ยวกับหน้าที่ของระบบต่างๆในร่างกายมากขึ้น อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากการที่แมวมีอายุมากขึ้น หรืออาจจะเกิดจากการมีโรคเกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งวิธีดังต่อไปนี้จะเป็นวิธ๊ที่ทำให้คุณสามารถรู้ได้ว่าแมวของคุณนั้นเริ่มมีอาการคล้ายกับโรคไข้หัดเเล้วหรือยัง
          1. การควบคุมการกินอาหารของเขา ว่าจะให้กินเมื่อไหร่ กินอาหารประเภทไหน มีการกินหรือการกลืนลำบากหรือเปล่า และอาเจียนหรือไม่
          2. การควบคุมการกินน้ำ โดยจะสังเกตุได้ว่ามีการกินน้ำมากกว่าหรือน้อยกว่าปกติหรือไม่
          3. การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระโดยจะต้องดูที่ สี ปริมาณ ความเข้มข้น ความถี่ในการขับถ่าย หรือดูว่ามีอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะหรืออุจจาระหรือไม่ หรือไม่ก็ดูว่ามีการขับถ่ายเรี่ยราดหรือเปล่า
          4. 
มีการตรวจและตัดเล็บ ตรวจดูแผลตามตัว รวมถึงกลิ่นที่ผิดปกต การขยายใหญ่ของช่องท้องและดูว่ามีอาการขนร่วงหรือไม่ 
          5.
ชั่งน้ำหนักทุกๆ เดือน 
          6. การควบคุมด้านพฤติกรรม ดูการนอน การแสดงออกต่อผู้คนรอบข้างมีอาการตกใจง่ายหรือไม่ และลักษณะท่าทางการนอนผิดปกติหรือเปล่า
          7. การควบคุมด้านท่าทางและการเคลื่อนไหว เช่นมีการสูญเสียการทรงตัว 
การชัก หรือเจ็บขาหรือไม่
          8.  ดูปริมาณน้ำลายว่ามีกลิ่นเหม็น และดูลักษณะสีของเหงือกว่าเป็นสีเหลือง ชมพูหรือม่วงหรือไม่
          9.  ดูความผิดปกติของการหายใจ หรือดูว่ามีการไอ มีการหอบหายใจ การจามหรือไม่ดูแลสุขภาพฟัน แปรงฟันให้แมวอย่างสม่ำเสมอ ดูว่ามีสิ่งผิดปกติในปากหรือไม่ 
         10. พาไปตรวจสุขภาพกับสัตวแพทย์ของคุณเป็นประจำ 

ลักษณะอาการที่พบบ่อยและโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ 

     1. การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม โรคที่เกี่ยวข้อง คือ ความเจ็บปวดจากข้ออักเสบหรือสภาวะอื่นๆ การสูญเสียการมองเห็นและการได้ยิน โรคตับ โรคไต เเละโรค Hepatic lipidosis
     2. การอ่อนเพลียหรือเหนื่อยง่าย เเล้วโรคที่เกี่ยวข้อง คือ การทำงานผิดปกติของ Mitral valve โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง โรคอ้อน เเละโรคมะเร็ง
     3. การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับความกระตือรือร้นของร่างกาย เเละโรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรค Hyperthyroidism โรคข้ออักเสบ ความเจ็บปวดต่างๆ ความอ้วน โลหิตจาง ความผิดปกติของ Mitral valve และโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ เเละโรคมะเร็ง
     4. น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น โรคที่เกี่ยวข้อง คือ ความอ้วน
     5. น้ำหนักลด โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคมะเร็ง โรคไต โรคตับ โรคของระบบทางเดินอาหาร การกินอาหารลดลง Hyperthyroidism Hepatic lipidosis โรคฟัน ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ Mitral valve โรคหัวใจเเละ การอักเสบของลำไส้
     6. การไอ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคหอบ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง
     7. การดื่มมากและปัสสาวะบ่อยเกินไป โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคเบาหวาน โรคตับ เเละโรคไต Hyperthyroidism
     8. การอาเจียน โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคไต โรคตับและโรคของระบบทางเดินอาหาร
     9. อาการท้องเสีย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคของระบบทางเดินอาหาร การอักเสบของลำไส้ โรคไต โรคตับ และอาจเกิดจากการเปลี่ยนอาหารเร็วเกินไป
     10. การชัก โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคลมชัก ( Epilepsy ) โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต
     11. อาการลมหายใจเหม็นผิดปกติเเละน้ำลาย โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคฟัน โรคมะเร็งในช่องปาก เเละโรคไต
     12. อาการขาเจ็บ โรคที่เกี่ยวข้อง คือ การลุกลำบาก การเดินผิดปกติ ข้ออักเสบ ความอ้วน เบาหวาน
     13. การกลั้นปัสสาวะไม่ได้หรือการถ่ายเรี่ยราด โรคที่เกี่ยวข้อง คือ เนื่องจากข้ออักเสบ การอักเสบของลำไส้ Bladder stones เเละโรคมะเร็ง
     14. อาการบวมและการกระแทก โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ
     15. การเปลี่ยนความอยากของอาหาร โรคที่เกี่ยวข้อง คือ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคตับ โรคไต ความเครียดและความเจ็บปวดต่างๆ อาจเกิดจากฤทธิ์ของยา โรคปากและฟัน Hyperthyroidism และ Hepatic lipidosis 


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Blogger Templates